วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

4 Dec: ปากพนัง 1 : แหลมตะลุมพุก

เมื่อวานได้แวะเยี่ยมวัด 4 แห่ง ตั้งใจจะแวะอีกสองแห่ง แต่ไกลคนละมุมเมืองและอีกแห่งอยู่ในป่า ฝนตั้งเค้ามืดมากเมื่อมองไปทางยอดเขาที่จะไปว่าตกหนัก แต่พระอาจารย์ยังไม่ตัดสินใจก็ถามกันว่าจะเอาอย่างไร ก็มีเสียงหนึ่งบอกว่าค่อยไปวันหน้าดีกว่า เพราะกลัวน้ำป่า ดินสไลด์ และทางไปรู้ว่าถูกตัดขาดก่อนหน้านี้แล้ว ตอนนี้คงใช้สะพานแบริ่ง ตกลงเลยกลับ แต่ก็ยังเจอฝนปรอยๆเป็นระยะ ไม่มากนัก กลับมาเย็นพอดีทันมาดูรายการสัมภาษณ์รศ.ดร.เสรี ช่อง ThaiPbsที่ออกมาช่วยคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วมตลอดช่วงที่ผ่านมา ตั้งใจว่าจะดูก็ได้ดู แล้วค่อยนำมาบันทึกคราวหน้า

เมื่อวานออกเดินทางประมาณ 08.30 จุดหมายคือปากพนัง นครศรีธรรมราช เพื่อตรวจดูวัดที่อยู่ริมชายฝั่งที่น้ำทะเลกัดเซาะ  เราก็เพิ่งเห็นของจริงหลังจากที่เคยอ่านข่าวมามากมายรวมทั้งงานวิจัย หลายครั้ง เกี่ยวกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่ปากพนัง คราวนี้ได้ลงเดินแวะดู ถ่ายภาพ เป็นประสบการณ์ที่มีค่าด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้สอนเด็กได้มากทีเดียว มันต่างจากการเห็นภาพถ่ายหรือดูโทรทัศน์จริงๆ ความรู้สึกกังวล หลายอย่างตามมาหลังจากเห็นของจริง เห็นความพยายามของหลายฝ่ายที่ได้ทำสิ่งกีดกั้นแรงกระแทกของคลื่น มีหลายรูปแบบ  กลับมาอ่าน หาข้อมูลเพิ่มเติมได้รู้การพยายามต่อสู้ในรูปแบบต่างๆของชาวบ้าน หน่วยงานราชการ เอกชน กระทั่งกลุ่มการเมือง อ่านไปก็ได้ข้อคิดหลายประการ ไม่แปลกใจเลยที่ข้อสรุปของหลายแห่งที่ทำให้เกิดผลกระทบมากมายเหล่านี้ชี้ไปที่การกระทำของมนุษย์ (ทำลายป่าชายเลน) กิจกรรมของมนุษย์ (เช่นทำนากุ้ง) ที่แม้ว่าปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นส่วนหนึ่ง แต่นั่นก็จากการกระทำกิจกรรมของมนุษย์อีกเช่นกัน ทุกอย่างล้วนเป็นงูกินหาง หาเหตุไปก็วนกลับมาที่ "คน" นี่เอง



วัดแรกที่แวะคือ วัดแหลมตะลุมพุก

ด้านหลังของวัดเป็นหินขนาดต่างๆที่อบต.ของบมาถม ระยะทาง 340 เมตร ใช้เงิน 1.3 ล้านเศษ หุ หุ


พระอาจารย์ลงไปตรวจดูด้านล่าง

เห็นหลักหมุดปูนปักของหน่วยทรัพยากรชายฝั่ง ล้มระเนระนาดเป็นระยะ เรียงแถวเป็นแนวหลายสิบต้นฝังอยู่ใต้กองหิน


ออกจากวัดวิ่งไปตามถนนเลียบแหลมตะลุมพุก เจอป้ายชี้ทางเข้าชุมชน ก็แวะไปดูว่าเป็นอย่างไร


เข้าไปจนสุดทางก็เห็นหน่วยงานอบต.แหลมตะลุมพุก ป้ายมีประวัติเหตุการณ์ และอีกด้านเป็นรูปที่ไม่ค่อยชัดนัก

สภาพในชุมชนที่เดี่ยวนี้ถนนคอนกรีตเข้าถึง บ้านแบบเก่าชาวเลก็มี บ้านแบบใหม่ตึกเล็กๆก็มี อยู่ปนกันไป ที่เห็นส่วนมากชาวบ้านก็นั่งๆนอนๆกันในบ้าน บางช่วงก็เห็นมีเรือหาปลาขนาดเล็กจอดอยู่

มีต่อ http://meepolen.blogspot.com/2011/12/2.html