วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

19 July: ปลาลำตะคองตาย กรณีศึกษาการทำงานของจนท



เช้าสอนเคมีสิ่งแวดล้อม สอนไปเศร้าใจไป เหนื่อยใจกับนศ. ให้หาข่าวสวล.มาคุยให้เพื่อนฟัง เพื่อให้มีความเอาใจใส่เรื่องรอบตัว รอบโลกว่าเกิดอะไร ที่ส่งผลกระทบต่อสวล.ฝึกการพูด การวิเคราะห์ข่าวสวล.ปรกฎว่าข่าวที่นศ.นำมาเสนอ เป็นเรื่องปลาตายมหาศาลที่ลำตะคอง พอมาเสนอเราก็ถามประโยคแรกคือ จังหวัดอะไร ตอบไม่ได้ คนฟังตอบแทน ถามต่อทำไมปลาตาย ตอบว่าน้ำเสีย ...คราวนี้คนสอนงง! จะมาเล่าข่าวทำไมต้องรอให้ถาม ออกมายืนมือเปล่านึกว่าเตรียมมาดี ถามต่ออีกสองคำถามก็ตอบไม่ได้เลยบอกเข้าไปนั่ง เซ็งแบบเหนื่อยใจจริงๆ

ว่าแล้วก็เอากรณีศึกษาเรื่องปลาตายในลำตะคองมาสอน วิเคราะห์ความไม่ถูกต้องที่จนท.ของโคราชพูดและทำ ให้ดูความไม่รับผิดชอบในการทำหน้าที่ของจนท.และการให้ข้อมูล การคาดการณ์ที่ใช้ไม่ได้ ให้ดูเยี่ยงและอย่าเอาอย่าง อย่าทำงานแบบไร้สำนึกแบบนั้น น่าสงสารก็ชาวบ้าน กว่าจะได้คำตอบว่าเป็นแอมโมเนีย จริงๆถ้าไม่แกล้ง....วันแรกที่เห็นเหตุการณ์ก็ตอบได้ทันที ไม่ต้องอ้างรอสองสัปดาห์ ที่น่าแปลกใจค่ามาตรฐาน DO ที่ทำให้สมช.ในน้ำตายได้ก็บอกมาผิด แนะให้นศ.สังเกตุดู และห้ามจำไปผิดๆ

  อันต่อไปให้สังเกตุดูทำไมไม่ช่วยบอกค่า pH ซึ่งวัดได้ทันทีง่ายๆ  เราก็ถามนศ.ว่ารู้ไหมทำไมส่วนมากพวกจนท.ทุกครั้งเวลาเกิดเรื่องจะยืดเวลาทุกอย่างของการหาคำตอบนานมากกว่าจะได้สาเหตุ แต่ถ้าเป็นผลประโยชน์ของพวกรง.จะหาคำตอบให้เร็วมาก......ที่นี่ประเทศไทยจริงๆ สำนึกความรัก ความห่วงใยในชีวิตของชาวบ้านมีน้อย แต่กลับพยายามหาคำตอบให้พวกนายทุน แบบกรณีนี้เห็นต้วอย่างได้.........แถมสุดท้ายยังออกข่าวแสดงความไม่รู้อย่างไม่น่าเชื่อ น่าเป็นห่วงจริงๆว่า

"......แนวทางกำจัดซากปลาเหล่านี้นั้น เจ้าหน้าที่ส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลนครนครราชสีมา กว่า 30 คน ได้มาช่วยกันนำเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ตักปลาไปทิ้งที่โรงกำจัดขยะของเทศบาลฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้ประโยชน์ต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 วัน จึงจะกำจัดปลาเน่าได้ทั้งหมด ส่วนปริมาณคาดว่าน่าจะมากกว่า 3 ตัน......."

ดูข่าวจาก http://hilight.kapook.com/view/73726
ถามนศ.ว่าอะไรที่ไม่ถูกต้องจากข่าวนี้.........เราก็บอกว่าในเมื่อทางเทศบาลนครนครราชสีมา ได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ 3 ข้อถึงสาเหตุปลาตายจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ....
3. เกิดจากสารพิษชนิดอื่น ๆ ซึ่งต้องส่งตัวอย่างน้ำ และตัวอย่างปลาตาย ไปให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 11 นครราชสีมา ตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะทราบสาเหตุที่แท้จริง
เราก็บอกให้นศ.สังเกตุว่าในเมื่อยังไม่ได้วิเคราะห์หาสาเหตุการตายของปลาแบบที่พวกเขาว่า หากมีสารพิษจริง และเป็นสารอันตราย แล้วเอาซากปลาไปทำปุ๋ยอินทรีย์ คิดต่อว่าเอาปุ๋ยที่ได้ไปใช้อะไรกัน..แล้วจะเกิดการตกค้างต่อในพืชผัก ให้คนกินต่อ เข้าในห่วงโซ่อาหารกระนั้นหรือ...ก็งงๆ ที่รีบออกข่าวแบบนี้ ไม่นานก็จะเกิดโมเดลประหลาดเอาแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องนี้ขึ้นมาต่อๆ แล้วหากคิดว่า "ไช่ "ทั้งประเทศ ต่อไปสุขภาพก็แย่กันหมด ด้วยการปฎิบัติผิดๆ คนไทยชีวิตราคาถูกจริงๆ ก็ไม่รู้หน่วยงานเกี่ยวข้องที่โคราชเขาเป็นไงกัน งงๆปล่อยให้มีการทำแบบนี้ได้ ก็บอกว่าดูไว้ แล้วอย่าเอาเยี่ยงอย่าง ต้องมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ให้สมกับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากกว่านี้
ตอนบ่ายสอนพิษวิทยาก็ยกเอาเรื่องนี้มาสอนให้เด็กเข้าใจอีก 

อ่านต่อเรื่อง ปลาลำตะคองตาย: กรณีศึกษาการจัดการและพรบ.แบบไทยๆ

 ที่ http://meecorner.blogspot.com/2012/07/blog-post_21.html